ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
(มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ)
ระบบห้องควบคุมความชื้น
เป็นอีกหนึ่งบริการคุณภาพจาก
บริษัท โค-แพค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
การใช้ทดแทนเทคโนโลยีเดิม
การควบคุมความชื้นในระบบปรับอากาศโดยทั่วไปจะใช้คอยล์เย็นเพื่อทำหน้าที่ในการดึงความชื้นออกจากอากาศ โดยอากาศภายนอกที่ร้อนชื้นเมื่อผ่านคอยล์เย็นก็จะคายความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) ทำให้อุณหภูมิต่ำลง ถ้าคอยล์เย็นมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดกลั่นตัวของไอน้ำ (Dew Point) ไอน้ำบางส่วนจะคายความร้อนแฝง (Latent Heat) พร้อมทั้งควบแน่นเป็นหยดน้ำ ในกรณีนี้อากาศที่ผ่านการดึงความชื้นออกแล้วจะเย็นจัด (Overcooled Air) ไม่เหมาะสมที่จะส่งผ่านเข้าไปยังพื้นที่ทำงานได้ จึงต้องใช้ความร้อนจากขดลวดไฟฟ้าหรือท่อไอน้ำ (Reheating Coil) ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ได้อากาศที่อุณหภูมิสบาย (Comfortable Air) ทำให้ต้องใช้พลังงานสูงเพื่อทำให้อากาศเย็นและ ร้อนในภายหลัง ดังแสดงในรูป
ทั้งนี้ สามารถแสดงสภาวะอากาศในกระบวนการควบคุมความชื้นซึ่งใช้คอยล์เย็นทำงานร่วมกับขดลวดความร้อนได้ดังแผนภูมิ Psychrometric ดังรูป
จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าในการควบคุมความความชื้นโดยใช้คอยล์เย็นทำงานร่วมกับขดลวดความร้อนจะมีการใช้พลังงานหลักที่คอยล์เย็น (Cooling Coil – จาก EA ไปสู่ LA) เพื่อลดอุณหภูมิของอากาศให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ และมีการใช้พลังงานในการเพิ่มอุณหภูมิให้กับอากาศหลังผ่านคอยล์เย็น (Reheat – จาก LA ไป SA) โดยใช้ขดลวดความร้อนเพื่อให้อากาศมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป
การใช้ฮีทไปป์ในการลดความชื้น
ฮีทไปป์สามารถใช้ในการลดความชื้นในระบบปรับอากาศ โดยการติดตั้งฮีทไปป์คร่อมคอยล์เย็น (Cooling Coil) ของระบบปรับอากาศ ฮีทไปป์ที่ติดตั้งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เรียกว่า ส่วนให้ความเย็นเบื้องต้น (Precool Heat Pipe Section) ซึ่งอยู่ทางช่องลมเข้าก่อนที่จะผ่านคอยล์เย็น เมื่ออากาศร้อนผ่านฮีทไปป์ส่วนนี้ อากาศร้อนก็จะถ่ายเทความร้อนให้แก่ฮีทไปป์ อากาศที่ผ่านไปยังคอยล์เย็นจึงมีอุณหภูมิลดลงกว่าปกติ ทำให้คอยล์เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากไอน้ำกลั่นตัวได้มาก อุณหภูมิของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นจะเย็นกว่าเครื่องปรับอากาศทั่วไป (Overcooled Air) ดังแสดงในรูป
เครื่องลดความชื้นแบบดูดซับ : Disiccant Dehumidifier
หลักการทำงาน: Desiccant เครื่องลดความชื้นอัตโนมัติชนิดดูดซับ จะดูดอากาศเข้าในเครื่อง Desiccant แล้วใช้ลมร้อนเป่ากำจัดความชื้นออกจากวัสดุ Silica gel ที่ดูดความชื้นไว้ แล้วหมุนเวียนการดูดและการกำจัดความชื้นอย่างต่อเนื่อง ดังรูปที่แสดง
สถานที่ที่นิยมใช้ เครื่องลดความชื้นแบบดูดซับ Desiccant dehumidifier ได้แก่ ห้องปิดที่มีระดับอุณหภูมิภายในห้องไม่เกิน 25°C เช่น ห้องผลิต ห้องสมุด ห้องเก็บวัสดุ ห้องพ่นสี เป็นต้น โดยต้องการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้น้อยกว่า 70%RH โดยที่ไม่มีข้อจำกัดของห้องขนาดใหญ่ และสามารถออกแบบระบบรวมเป็นระบบปรับอากาศและลดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Desiccant dehumidifier
สำหรับ Dry room
ไลน์ผลิตสินค้าพิเศษที่อ่อนไหวกับความชื้น เช่น Lithium Ion batteries manufacturing facilities, Research & Development laboratories จำเป็นต้องได้รับการออกแบบใช้งานเครื่องลดความชื้นแบบดูดซับที่สามารถลดความชื้นได้ต่ำในขณะที่อุณหภูมิอากาศต่ำด้วย ( extremely low dry air – down to -50C dew point at atmospheric pressure, the maintained conditions inside the dry room 20C and RH less than 10% or lower)
Desiccant dehumidifier สำหรับ Cold room, Meat, Cheese, Sausage, Beer, Frozen products
อาหารหลายประเภทที่ต้องเก็บรักษาในที่เย็น หรือ แช่แข็ง คำถามคือเก็บอย่างไรให้คุณภาพของอาหารคงอยู่ในเวลานานและไม่มีปัญหาเรื่องแบคทีเรียหรือเชื้อรา คำตอบคือต้องเก็บในทีที่ทั้งอุณหภูมิและความชื้นอยู่ในค่าที่เหมาะสม (เย็นและแห้ง) กับอาหารประเภทนั้นๆ ซึ่งเครื่องลดความชื้นแบบดูดซับสามารถที่จะลดความชื้นให้ต่ำมากๆได้โดยที่อุณหภูมิก็ต่ำด้วยเช่นกัน
RUND AROUND COIL : โปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความชื้น
RUND AROUND COIL เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความชื้น ในระบบคลีนรูม (Clean room) โดยเป็นชุดที่ทำการเพิ่มโหลดเทียมให้กับห้อง ซึ่งอาศัยความร้อนในบรรยากาศมาดำเนินการผ่านชุดแผงคอยล์ 2 ชุดโดยอาศัยน้ำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความร้อนและใช้แรงส่งจากปั๊ม ซึ่งมหลักการทำงานดังนี้
เริ่มแรกจะเป็นขบวนการของ อากาศภายนอกที่ถูกเติมเข้ามาที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ที่ความชื้น 60%RH (กำหนดให้ปริมาณลมมี จำนวน 4,000 CMH) ผ่านที่แผงคอยล์ C-RAC ซึ่งมีน้ำที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสจ่ายมาเลี้ยง ผลคือลมผ่านจากแผงคอยล์นี้จะได้อุณหภูมิ 26.8 องศาเซลเซียส ใกล้จะถึง Dew point ซึ่งขบวนการนี้จะไม่มีการลดความชื้น แต่อย่างใด (ดูจาก P-H Diagram จะเห็นว่าเป็นเส้นตรงที่ความชื้น 21.53 g/kg) ซึ่งน้ำที่ออกจากแผงคอยล์นี้จะมีอุณหภูมิ ประมาณ 26 องศาเซลเซียส (เป็นไปตามคุณลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร้อน คือลมที่ออกจากแผงคอยล์ จะมีอุณหภูมิเท่ากันกับอุณหภูมิของน้ำ แต่ทางปฏิบัติลมจะมีอุณหภูมิสูงกว่าเล็กน้อยเนื่องจากบริเวณนั้นจะมีโหลดทางด้านอื่นมาผสมด้วยโดยเฉพาะตำแหน่งที่ Air Handling Unit จะจ่ายลมออก เนื่องจากมีโหลดมอเตอร์อยู่ด้วย) จากนั้นลมก็จะไปผ่าน Pre-Cool Coil ซึ่งมีน้ำที่ 7 องศาเซลเซียส มาเลี้ยงและออกที่ 11 องศาเซลเซียส นั้นหมายถึงว่าลมที่ออกจากแผงคอยล์ก็ต้อง สูงกว่า 11 องศาเซลเซียส ซึ่งใน P-H Diagram หรือโปรแกรม คำนวณ RAC อุณหภูมิอยู่ที่ 12.5 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นลมที่ผ่านแผงคอยล์ Pre-Cool ที่อุณหภูมิ 12.5 องศาเซลเซียส ก็จะวิ่งเข้า แผงคอยล์ H-RAC ซึ่งมีน้ำที่จ่ายออกมาจาก C-RAC ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส มาจ่าย ส่งผลให้ลมที่ออกจากแผงคอยล์ชุดนี้มีอุณหภูมิ ที่ 20.7 องศา เซลเซียส ที่ความชื้น 9.064 g/kg และ ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 59.36 %RH และน้ำที่ออกจากแผงคอยล์ของ H-RAC จะมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และจะไปจ่ายให้แผงคอยล์ C-RAC